วันอาทิตย์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

สารสนเทศการศึกษาและการนำมาใช้ประโยชน์

สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ หรืออาจกล่าวได้ว่า สารสนเทศ เกิดจากการนำข้อมูล ผ่านระบบการประมวลผล คำนวณ วิเคราะห์และแปลความหมายเป็นข้อความที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
เช่น สารสนเทศที่เป็น ความรู้ที่เกิดจากวิทยุ โทรศัพท์มือถือ ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ รอบตัวเราซึ่งอาจมาจาก วิทยุ โทรทัศน์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ดาวเทียม โทรศัพท์ เครื่องจักร ที่เกี่ยวกับสารสนเทศได้ เครื่องคอมพิวเตอร์ ระบบสื่อสารโทรคมนาคมสมัยใหม่ เช่น การฝาก ถอนเงินผ่านเครื่อง ATM การจองตั๋วเครื่องบิน การลงทะเบียน ฯลฯ

การนำสารสนเทศมาใช้ประโยชน์
1. ด้านการวางแผน สามารถนำสารสนเทศไปใช้ในการวางแผนเกี่ยวกับการจัดการองค์การ การบริหารงานทรัพยากรมนุษย์ กระบวนการผลิตสินค้า การตลาด เป็นต้น
2. ด้านการตัดสินใจ สามารถนำสารสนเทศไปใช้ในการตัดสินใจเพื่อเลือกแนวทางหรือทางเลือกที่มีปัญหาน้อยที่สุดในการแก้ปัญหาต่าง ๆ การมีสารสนเทศที่สมบูรณ์ ทันสมัย และครบถ้วนจะช่วยให้การตัดสินใจถูกต้อง รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
3. ด้านการดำเนินงาน สามารถนำสารสนเทศไปใช้ในการดำเนินงานต่าง ๆ เช่น ใช้เพื่อควบคุมหรือติดตามผลการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับกฎระเบียบ วัตถุประสงค์ และเป้าหมายขององค์การ

คำถาม
1. สารสนเทศ หมายถึงอะไร
2. ความรู้ที่เกิดจากสารสนเทศเกิดขึ้นจากอะไรได้บ้าง
3. ประโยชน์ของสารสนเทศมีกี่ด้าน อะไรบ้าง
4. การมีสารสนเทศที่สมบูรณ์และทันสมัยช่วยในการนำไปใช้ประโยชน์ในด้านใด

ที่มา : http://www.chakkham.ac.th/technology/
techno1/c2-2.htm

วันอังคารที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

เทคโนโลยีทางการศึกษา

ความหมายของเทคโนโลยี
ความเจริญในด้านต่างๆ ที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน เป็นผลมาจากการศึกษาค้นคว้าทดลองประดิษฐ์คิดค้นสิ่งต่างๆ โดยอาศัยความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เมื่อศึกษาค้นพบและทดลองใช้ได้ผลแล้ว ก็นำออกเผยแพร่ใช้ในกิจการด้านต่างๆ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพัฒนาคุณภาพ และประสิทธิภาพในกิจการต่างๆ เหล่านั้น และวิชาการที่ว่าด้วยการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ มาใช้ในกิจการด้านต่างๆ จึงเรียกกันว่า "วิทยาศาสตร์ประยุกต์" หรือนิยมเรียกกันทั่วไปว่า "เทคโนโลยี" (boonpan edt01.htm)
เทคโนโลยีี หมายถึงการใช้เครื่องมือให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในการแก้ปัญหา ผู้ที่นำเอาเทคโนโลยีมาใช้ เรียกว่านักเทคโนโลยี (Technologist) (boonpan edt01.htm)
เทคโนโลยีทางการศึกษา (Educational Technology) ตามรูปศัพท์ เทคโน (วิธีการ) + โลยี(วิทยา) หมายถึง ศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีการทางการศึกษา ครอบคลุมระบบการนำวิธีการ มาปรับปรุงประสิทธิภาพของการศึกษาให้สูงขึ้นเทคโนโลยีทางการศึกษาครอบคลุมองค์ประกอบ 3 ประการ คือ วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ (boonpan edt01.htm)
สภาเทคโนโลยีทางการศึกษานานาชาติได้ให้คำจำกัดความของ เทคโนโลยีทางการศึกษา ว่าเป็นการพัฒนาและประยุกต์ระบบเทคนิคและอุปกรณ์ ให้สามารถนำมาใช้ในสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม เพื่อสร้างเสริมกระบวนการเรียนรู้ของคนให้ดียิ่งขึ้น (boonpan edt01.htm)
ดร.เปรื่อง กุมุท ได้กล่าวถึงความหมายของเทคโนโลยีการศึกษาว่า เป็นการขยายขอบข่ายของการใช้สื่อการสอน ให้กว้างขวางขึ้นทั้งในด้านบุคคล วัสดุเครื่องมือ สถานที่ และกิจกรรมต่างๆในกระบวนการเรียนการสอน (boonpan edt01.htm)
Edgar Dale กล่าวว่า เทคโนโลยีทางการศึกษา ไม่ใช่เครื่องมือ แต่เป็นแผนการหรือวิธีการทำงานอย่างเป็นระบบ ให้บรรลุผลตามแผนการ (boonpan edt01.htm)


ที่มา http://school.obec.go.th/sup_br3/t_1.htm

นวัตกรรมทางการศึกษา

ความหมายของนวัตกรรมการศึกษา
"นวัตกรรมการศึกษา (Educational Innovation )" หมายถึง นวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษา และการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม เกิดแรงจูงใจในการเรียนด้วยนวัตกรรมการศึกษา และประหยัดเวลาในการเรียนได้อีกด้วย ในปัจจุบันมีการใช้นวัตกรรมการศึกษามากมายหลายอย่าง ซึ่งมีทั้งนวัตกรรมที่ใช้กันอย่างแพร่หลายแล้ว และประเภทที่กำลังเผยแพร่ เช่น การเรียนการสอนที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Aids Instruction) การใช้แผ่นวิดีทัศน์เชิงโต้ตอบ (Interactive Video) สื่อหลายมิติ ( Hypermedia ) และอินเทอร์เน็ต [Internet] เหล่านี้ เป็นต้น (วารสารออนไลน์ บรรณปัญญา.htm)
“นวัตกรรมทางการศึกษา” (Educational Innovation) หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียน และช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน เช่น การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้วีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ(Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia) และอินเตอร์เน็ต เหล่านี้เป็นต้น


ที่มา http://school.obec.go.th/sup_br3/t_1.htm

วันพุธที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

การเดินทางไปอยุธยา

ทางรถยนต์
จากกรุงเทพฯ สามารถเดินทางไปจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้หลายเส้นทางดังนี้
๑. ใช้ทางหลวงหมายเลข ๑ (ถนนพหลโยธิน) ผ่านประตูน้ำพระอินทร์ แล้วแยกเข้าทางหลวงหมายเลข ๓๒ เลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข ๓๐๙ เข้าสู่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
๒. ใช้ทางหลวงหมายเลข ๓๐๔ (ถนนแจ้งวัฒนะ) หรือทางหลวงหมายเลข ๓๐๒ (ถนนงามวงศ์วาน) เลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข ๓๐๖ (ถนนติวานนท์) แล้วข้ามสะพานนนทบุรีหรือสะพานนวลฉวี ไปยังจังหวัดปทุมธานีต่อด้วยเส้นทาง ปทุมธานี-สามโคก-เสนา (ทางหลวงหมายเลข ๓๑๑๑) เลี้ยวแยกขวาที่อำเภอเสนา เข้าสู่ทางหลวงหมายเลข ๓๒๖๓ เข้าสู่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
๓. ใช้เส้นทางกรุงเทพฯ-นนทบุรี-ปทุมธานี ทางหลวงหมายเลข ๓๐๖ ถึงทางแยกสะพานปทุมธานี เลี้ยวเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข ๓๔๗ แล้วไปแยกเข้าทางหลวงหมายเลข ๓๓๐๙ ผ่านศูนย์ศิลปาชีพบางไทร อำเภอบางปะอิน เข้าสู่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

รถโดยสารประจำทาง
บริษัท ขนส่ง จำกัด มีบริการรถโดยสารธรรมดาและรถโดยสารปรับอากาศไปจังหวัดพระนครศรีอยุธยาทุกวัน วันละหลายเที่ยว ออกจากสถานีขนส่งหมอชิต ถนนกำแพงเพชร ๒ รถโดยสารปรับอากาศชั้น ๑ กรุงเทพฯ-พระนครศรีอยุธยาและรถโดยสารปรับอากาศชั้น ๒ กรุงเทพฯ-ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร-พระนครศรีอยุธยา ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. ๐ ๒๙๓๖ ๒๘๕๒-๖๖ หรือ เว็บไซต์ www.transport.co.th

ประวัติวัดมงคลบพิตร


วัดมงคลบพิตร เป็นวัดโบราณสำคัญแห่งหนึ่งในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาโดยที่ตั้งของวัดมงคลบพิตรและพระราชวังโบราณตั้งอยู่ติดกัน นักท่องเที่ยวจึงนิยมเข้ามานมัสการหลวงพ่อมงคลบพิตรก่อนจะเข้าชมพระราชวังโบราณ
วิหารพระมงคลบพิตร ถ้าตามพระราพงศาวดารฯบริเวณที่ตั้งวิหารนี้เคยเป็นวัดในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมเพราะระบุว่าโปรดอัญเชิญพระพุทธรูปขนาดใหญ่นามว่า “มงคลบพิตร” มาจากพื้นที่ทางตะวันออกต่อจากนั้นก็ทรงก่อมณฑปครอบ
ครั้นถึงรัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ โปรดเกล้าให้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์พระมงคลบพิตรขึ้นอีกครั้งหนึ่ง โดยโปรดให้ทำบัวหงายคั่นระหว่างพระเกตุมาลากับพระรัศมีส่วนพระวิหารนั้นก็โปรดให้รื้อเครื่องบนออก แล้วก่อหลังคาให้เหมือนดังพระวิหารทั่วไป
ต่อมาเมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๓๑๐ นั้นพม่าเข้าใจว่าพระมงคลบพิตรเป็นพระพุทธรูปทองคำ จึงได้ใช้ไฟสุมลอกทองจนกระทั่งองค์พระ ตลอดจนพระวิหารได้รับความเสียหายมากโดยเฉพาะเครื่องบนพระวิหารที่หักลงมา ต้องพระเมาฬีและพระกรข้างขวาจนแตกหักตกลงมากลายเป็นซากปรักหักพัง
นับแต่นั้นมาจนกระทั่งถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕จึงได้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์ขึ้น เมื่อครั้งพระยาโบราณราชธานินทร์ ดำรงตำแหน่งสมุหเทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่าครั้งนั้นได้มีการซ่อมพระเมาฬีและพระกรข้างขวาด้วยปูนปั้น ส่วนพระวิหารที่อยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรม ก็ได้มีการบูรณะขึ้นใหม่ด้วยเช่นกัน
ใน พ.ศ. ๒๔๗๔ คุณหญิงอมเรศศรีสมบัติ มีศรัทธาที่จะปฏิสังขรณ์ฐานพระมงคลบพิตรขึ้นใหม่ครั้นนั้นจำเป็นต้องลบรอยปูนปั้นของเดิมออกจนหมด
ครั้นถึง พ.ศ. ๒๔๙๙ จอมพลแปลก พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ได้สั่งให้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์พระมงคลบพิตร และพระวิหารขึ้นใหม่อีกครั้งหนึ่งโดยเฉพาะองค์พระมงคลบพิตรนั้นได้ทาสีดำตลอดทั้งองค์
พ.ศ. ๒๕๓๓ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายกเสด็จมาเป็นองค์ประธานเททองหล่อพระพุทธรูปพระมงคลบพิตรจำลองได้ประทานพระราชดำริว่าควรปิดทององค์พระมงคลบพิตรทั้งองค์ทำให้องค์พระพุทธรูปมีพุทธลักษณะที่งดงาม น่าเลื่อมใสศรัทธายิ่งขึ้น